ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาตร์ (Economic) = วิชาการแขนงหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของคนในสังคมเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
รากศัพท์มาจาก คำว่า 'Oikonomikos' แปลว่า 'การบริหารจัดการของครัวเรือน'
อย่างไรก็ตามมีผู้ให้คำจำกัดความของวิชาเศรษฐศาสตร์เอาไว้มากมาย
สรุปแล้ว วิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์
1) เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ทาง เศรษฐกิจและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หรือ ระหว่างปัจจัยหรือสาเหตุกับผลลัพธ์ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ ซื้อจะตัดสินใจอย่างไร โดยไม่คำนึงถึงว่าการตัดสิน ใจอย่างไร โดยไม่คำนึงว่าการตัดสินใจนั้นเป็นที่น่า พึงพอใจของสังคมหรือไม่ เป็นต้น
2 ) เศรษฐศาสตร์นโยบาย
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจ ของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรวมหรือในระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงาน การธนาคาร การคลัง
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. การผลิต (Production) เป็นการสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยให้เกิด ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เช่น ประโยชน์จากรูปร่าง ประโยชน์จากสถานที่ ประโยชน์จากเวลา ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์
ปัจจัยการผลิต
* ที่ดิน หมายถึง ที่ดินและทรัพยากรที่อยู่ในดินและเหนือพื้นดิน ค่าตอบแทนคือ ค่าเช่า
* แรงงาน หมายถึง แรงงานที่เกิดจากกำลังกายและสติปัญญาของมนุษย์ ค่าตอบแทนคือ ค่าจ้าง หรือเงินเดือน
* ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับแรงงาน เช่น เครื่องจักร ค่าตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
* ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ที่นำเอาปัจจัยการผลิต มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนคือกำไร
ขั้นการผลิต
* การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นแรกโดยนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แรงงาน เช่น การประมง การเกษตร
* การผลิตชั้นทุติยภูมิ เป็นการนำเอาผลผลิตขั้นต้น มาแปรสภาพเป็นสินค้าได้แก่ หัตถกรรม และอุตสาหกรรม
* การผลิตชั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตในรูปบริการ เช่น การขนส่ง การท่องเที่ยว การประกันภัย
การกำหนดราคาและปริมาณการผลิต ผู้ผลิต อาจคาดคะเนผลผลิตจากการคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในตลาด
อุปสงค์ (Demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ขึ้นกับราคาสินค้า
กฎทั่วไปของอุปสงค์ คือ อุปสงค์แปรผันโดยอ้อมหรือผูกพันกับราคาสินค้าและบริการ (สินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์น้อย)
อุปทาน (Supply) เป็นปริมาณความต้องการที่จะขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะขึ้นกับราคาของสินค้าและบริการ
กฎทั่วไปของอุปทาน คือ อุปทานจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้าและบริการ
ราคาดุลยภาพและปริมาณ ดุลยภาพ
ราคาสินค้าแพงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์มากกว่าอุปทาน (ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน)
ราคาสินค้าถูกลง เกิดขึ้นเมื่อ อุปทานมากกว่าอุปสงค์ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน)
รูปเส้นของอุปสงค์และอุปทาน
2. การบริโภค (Consumption) หมายถึงการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ
ชนิด ของการบริโภค
2.1 2.2 | สินค้าคงทน ได้แก่ สินค้าที่เก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เข่น ปากกา นาฬิกา กระเป๋า สินค้า ไม่คงทน ได้แก่ สินค้าที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปภายใน 1 ปี เช่น อาหาร น้ำมัน เชื้อเพลิง กระดาษ ถ้ารายได้ต่ำ ความสามารถในการบริโภคจะถูกจำกัดลง และถ้ามีรายได้สูง ความสามารถในการบริโภคจะสูงขึ้น |
3. การกระจาย (Distribution) หมายถึงการจำนวนจ่ายแจกสินค้าและบริการ แบ่งเป็น
3.1 3.2 | การกระจายสินค้าและบริการ ไปสู่ผู้บริโภค การกระจายรายได้ เป็นการกระจายผลตอบแทนไปสู่ปัจจัยการผลิต |
4. การแลกเปลี่ยน (Exchange) หมายถึง การนำสินค้าและบริการไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการอื่น หรือแลกเปลี่ยนกับสื่อกลาง จึงแบ่งออกเป็น
4.1 4.2 4.3 | การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อ สินค้า การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อเงินตราหรือใช้สื่อกลาง การแลกเปลี่ยน แบบใช้สินเชื่อ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ดราฟท์ |
รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ << ตรงนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในตอนที่ 4 ค่ะ
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม
- เอกชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ ทรัพย์สินและเป็นผู้ดำเนินการผลิต
- มีการแข่งขันกันในด้านคุณภาพ ราคา การให้บริการ
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินผ่านกลไกราคา
ข้อดี | 1. เอกชนมีสิทธิ์เสรีภาพในทางเศรษฐกิจ 2. สินค้ามีการพัฒนา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดี |
ข้อเสีย | 1. การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน 2. ทรัพยากรถูกนำมาใช้ฟุ่มเฟือย |
- รัฐมีบทบาทในการวางแผนและดำเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- เอกชนยังเป็นเจ้าของปัจจัยบางประเภท
- มีการวางแผนด้านเศรษฐกิจจากส่วนกลาง
ข้อดี | 1. ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น 2. ฐานะของประชาชนไม่แตกต่างกัน |
ข้อเสีย | 1. รัฐรับภาระทางด้านสวัสดิการ 2. เอกชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ |
- รัฐเป็นเจ้าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปัจจัยการผลิต
- เอกชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการเลือกอาชีพ
- รัฐควบคุมการผลิตอย่างสมบูรณ์ มีการวางแผนจากผลิตจากส่วนกลาง
ข้อดี | 1. ควบคุมการใช้ทรัพยากรได้ดี 2. เอกชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ |
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นของเอกชน
- รัฐคงจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน
- มีการแข่งขันด้านคุณภาพ ราคา บริการ
- รัฐเข้าดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม
- ใช้กลไกราคาร่วมกับการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดี | 1. เอกชนมีเสรีภาพ 2. รัฐเข้าคุ้มครองผลประโยชน์ไว้กับประเทศและสังคม |
ข้อเสีย | 1. รัฐรับภาระสวัสดิการต่าง ๆ |
การเงิน การคลัง การธนาคาร
เงิน คือ สิ่งใด ๆ ก็ตามที่สังคมยอมรับใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
หน้าที่ของเงิน | |||
1. 2. 3. 4. | เป็นเครื่องวัดมูลค่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ****** เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต เป็นเครื่องรักษามูลค่า | ||
ชนิดของเงิน | |||
1. 2. 3. | เงินเหรียญกษาปณ์ เงินธนบัตร เงินฝากกระแสรายวันหรือเผื่อเรียก | ||
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ (รวมทั้งประเทศไทย) หันมาใช้มาตรฐานเงินตราที่เรียกว่ามาตราผสมภายใต้กองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ โดยกำหนดค่าเสมอภาค เทียบกับทองคำ และเงินดอลลาร์ | |||
ค่าของเงิน | |||
1. 2. | ค่าภายนอก เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น 42 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าภายใน เป็นอำนาจในการซื้อสินค้าของเงิน 1 หน่วย ถ้า 1 หน่วย ซื้อสินค้าได้มาก แสดงว่ามีค่ามาก (ค่าของเงินจะแปรผกผันกับราคาสินค้า) | ||
***** ภาวะการเงินที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ | |||
1. | ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่เงินมีอำนาจการซื้อลดลง ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น | ||
ผลกระทบ | - ผู้เสียเปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน - ผู้ได้เปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ | ||
วิธีแก้ปัญหา | - ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และขายพันธบัตรรัฐบาล - ใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล ด้วยการเพิ่มภาษีอากร | ||
2. | ภาวะเงินฝืด คือ ภาวะที่มีเงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินลดลง ราคาสินค้าและบริการถูกลง แต่ไม่มีคนมาซื้อ | ||
ผลกระทบ | - ผู้เสียเปรียบคือ ลูกหนี้ และนักธุรกิจ - ผู้ได้เปรียบคือ เจ้าหนี้ และผู้มีรายได้แน่นอน | ||
วิธี แก้ปัญหา | - ลดอัตราดอกเบี้ย และซื้อพันธบัตรรัฐบาล - ใช้นโยบายงบประมาณขาดดุล ด้วยการลดหนี้ และเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ | ||
3. | ภาวะเงินตึง คือ ภาวะที่กระแสการเงินชะงักชะงัน มีความต้องการเงินเพื่อลงทุนเพิ่มแต่ปริมาณเงินน้อย | ||
การแก้ปัญหา คือ เพิ่มปริมาณเงินหรือกู้เงินมาหมุนเวียนเพิ่มอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงิน ฝืดก็ได้ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น